บทที่ 4 พลังงานนิวเคลียร์
ดวงอาทิตย์เปรียบเสมือนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดใหญ่ในธรรมชาติ
ที่ให้พลังงานแก่โลกของเรา นอกจากนี้มนุษย์ยังสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
เพื่อใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า
และใช้ประโยชน์จากกัมมันตภาพรังสี ในทางการแพทย์และอุตสาหกรรม เป็นต้น
4.1 การค้นพบกัมมันตภาพรังสี
เบคเคอเรล (Henri Becquerel) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส
เป็นผู้ค้นพบกัมมันตภาพรังสีในสารประกอบยูเรเนียม เรียกว่า รังสียูเรนิก ในขณะที่ทำการวิเคราะห์เกี่ยวกับรังสีเอกซ์ กัมมันตภาพรังสีมีสมบัติแตกต่างจากรังสีเอกซ์ คือ มีความเข้มน้อยกว่ารังสีเอกซ์ การแผ่รังสีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
ธาตุกัมมันตรังสี (Radioactive Elements) หมายถึง ธาตุที่มีในธรรมชาติที่แผ่รังสีออกมาได้เอง
กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) เป็นปรากฎการณ์อย่างหนึ่งของสารที่มีสมบัติในการแผ่รังสีออกมาได้เอง
กัมมันตภาพรังสี ที่แผ่ออกมามีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ รังสีแอลฟา รังสีเบตา และรังสีแกมมา
โดยเมื่อนำสารกัมมันตรังสีใส่ลงในตะกั่วที่เจาะรูเอาไว้ให้รังสีออกทางช่องทางเดียวไป ผ่านสนามไฟฟ้า พบว่ารังสีหนึ่งจะเบนเข้าหาขั้วบวกคือรังสีเบตา อีกรังสีหนึ่งเบนเข้าหาขั้วลบคือรังสีแอลฟาหรืออนุภาคแอลฟา ส่วนอีกรังสีหนึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้าจึงไม่ถูกดูดหรือผลักด้วยอำนาจแม่เหล็กหรืออำนาจนำไฟฟ้า ให้ชื่อรังสีนี้ว่า รังสีแกมมา ดังรูป
โดยเมื่อนำสารกัมมันตรังสีใส่ลงในตะกั่วที่เจาะรูเอาไว้ให้รังสีออกทางช่องทางเดียวไป ผ่านสนามไฟฟ้า พบว่ารังสีหนึ่งจะเบนเข้าหาขั้วบวกคือรังสีเบตา อีกรังสีหนึ่งเบนเข้าหาขั้วลบคือรังสีแอลฟาหรืออนุภาคแอลฟา ส่วนอีกรังสีหนึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้าจึงไม่ถูกดูดหรือผลักด้วยอำนาจแม่เหล็กหรืออำนาจนำไฟฟ้า ให้ชื่อรังสีนี้ว่า รังสีแกมมา ดังรูป
การเกิดกัมมันตภาพรังสี
1. เกิดจากนิวเคลียสในภาวะพื้นฐาน
รับพลังจำนวนมากทำให้นิวเคลียสกระโดดไปสู่ระดับพลังงานที่สูงขึ้น
ก่อนกลับสู่ภาวะพื้นฐานนิวเคลียร์จะคลายพลังงานออกมาในรูป
"โฟตอนที่มีพลังงานสูง" ย่านความถี่รังสีแกมมา
2. เกิดจากการที่นิวเคลียร์บางอัน อยู่ในสภาพไม่เสถียร คือมีอนุภาคบางอนุภาคมากหรือน้อยเกินไป ลักษณะนี้นิวเคลียร์จะปรับตัว คายอนุภาคเบตาหรือแอลฟาออกมา
2. เกิดจากการที่นิวเคลียร์บางอัน อยู่ในสภาพไม่เสถียร คือมีอนุภาคบางอนุภาคมากหรือน้อยเกินไป ลักษณะนี้นิวเคลียร์จะปรับตัว คายอนุภาคเบตาหรือแอลฟาออกมา
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (nuclear symbol) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมด้วยเลขมวลและเลขอะตอม
เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ดังนี้
โดยที่ X คือ สัญลักษณ์ธาตุ
Z คือ เลขอะตอม (atomic number) เป็นจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส
A คือ เลขมวล (mass number) เป็นผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน
A คือ เลขมวล (mass number) เป็นผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน
4.2 ไอโซโทป
ไอโซโทป (Isotope) หมายถึง อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันที่มีโปรตอนเท่ากัน (หรืออิเล็กตรอนเท่ากัน ) แต่มีเลขมวลและจำนวนนิวตรอนต่างกัน (หรือมีมวลต่างกัน)
อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน
แต่จำนวนนิวตรอนอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ซึ่งมีผลทำให้มวลต่างกัน
อะตอมของธาตุดังกล่าวเรียกว่าเป็นไอโซโทป เช่น 12C, 13C และ 14C เป็นไอโซโทปกัน
(เลขอะตอมC=6 )
ไอโซโทปของธาตุบางชนิดอาจจะมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ
เช่น ธาตุไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป และมีชื่อเฉพาะดังนี้
11H เรียกว่า โปรเตรียม
ใช้สัญลักษณ์ H
21H เรียกว่า ดิวทีเรียม
ใช้สัญลักษณ์ D
31H เรียกว่า ตริเตรียม ใช้สัญลักษณ์ T
4.3 กัมมันตภาพรังสี
เมื่อจำนวนนิวตรอนเพิ่มขึ้น จะทำให้นิวเคลียสไม่เสถียร
และเกิดการเสื่อมสลายโดยตัวเอง หรือเกิดกัมมันตภาพรังสี
และเรียกไอโซโทปของธาตุที่เกิดกัมมันตภาพรังสีนั้นว่า
ไอโซโทปกัมมันตรังสี (radioactive isotope)
ในช่วงปี พ.ศ. 2442-2443 เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) และปอล วียาร์ (Paul Villard) ได้จำแนกอนุภาคและรังสีที่ได้จากการเกิดกัมมันตภาพรังสีเป็น
3 ชนิด ตามลักษณะการเบี่ยงเบน
เมื่อปล่อยอนุภาคและรังสีให้เคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก พบว่าลำของอนุภาคและรังสี
เกิดการเบี่ยงเบนออกไปทั้ง 2 ข้าง และบางส่วนำม่เกิดการเบี่ยงเบน
จึงสามารถจำแนกอนุภาคและรังสีได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่
อนุภาคแอลฟา (alpha particle) อนุภาคบีตา (beta particle) และรังสีแกมมา (gamma ray) โดยลำของอนุภาคแอลฟา
และอนุภาคบีตาจะเบี่ยงเบนออกไปจากแนวเดิม แต่มีทิศทางตรงข้ามกัน
แสดงให้เห็นว่าอนุภาคทั้ง 2 มีประจุไฟฟ้าต่างชนิดกัน
ส่วนรังสีแกมมาไม่มีการเบี่ยงเบน แสดงว่ารังสีแกมมาเป็นกลางทางไฟฟ้า
การสลายให้อนุภาคแอลฟา
(อังกฤษ: Alpha
decay) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีซึ่งนิวเคลียสอะตอมจะปลดปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมา
ดังนั้นจึงเปลี่ยนสภาพ (หรือ 'สลาย') อะตอมโดยสูญเสียเลขมวล 4
และเลขอะตอม 2เช่น
การสลายให้อนุภาคแอลฟาเหมือนกับการสลายให้กลุ่มอนุภาคอื่นๆเป็นกระบวนการ quantum tunneling พื้นฐาน
การสลายให้อนุภาคแอลฟาไม่เหมือนกับการสลายให้อนุภาคบีตา การสลายให้อนุภาคแอลฟาถูกควบคุมโดยปฏิกิริยาต่อกันและกันระหว่างแรงนิวเคลียร์และแรงแม่เหล็กไฟฟ้า
การสลายให้อนุภาคแอลฟาเป็นรูปแบบของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีพบในนิวไคลด์ที่มีน้ำหนักมากเท่านั้น
ตัวปลดปล่อยอนุภาคแอลฟาที่เบาที่สุดคือไอโซโทปที่เบาที่สุด (เลขมวล 106–110) ของเทลลูเรียม (ธาตุที่ 52)
เพราะมวลขนาดใหญ่ มีประจุไฟฟ้า +2 และอัตราความเร็วต่ำ
เมื่อเทียบกับอนุภาคอื่นๆ
อนุภาคแอลฟามักจะมีปฏิกิริยากับอะตอมอื่นๆและสูญเสียพลังงานของมันไป
ดังนั้นการเคลื่อนตัวไปข้างหน้าของมันจะถูกหยุดในสองถึงสามเซนติเมตรของบรรยากาศของโลก
ฮีเลียมส่วนมากบนโลก (ประมาณ 99%) เป็นผลมาจากการสลายให้อนุภาคแอลฟาของแร่ที่ทับถมกันอยู่ใต้ดิน
แร่ที่ประกอบไปด้วยยูเรเนียมหรือทอเรียม ฮีเลียมถูกนำขึ้นสู่ผิวโลกโดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหลือของการผลิตก๊าซธรรมชาติ
การสลายให้อนุภาคบีตา
ในฟิสิกส์นิวเคลียร์, การสลายให้อนุภาคบีตา (อังกฤษ:beta
decay) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีที่อนุภาคบีตา(อิเล็กตรอนหรือโพซิตรอน)ถูกปลดปล่อยออกมา
ในกรณีปลดปล่อยอิเล็กตรอน จะเป็น บีตาลบ (
) ขณะที่ในกรณีปลดปล่อยโพซิตรอนจะเป็นบีตาบวก (
) พลังงานจลน์ของอนุภาคบีตามีพิสัยสเปกตรัมต่อเนื่องจาก
0 ถึงค่าสูงสุดที่จะเป็นไป (Q) ซึ่งขึ้นกับสภาวะนิวเคลียร์ของต้นกำเนิดและลูกที่เกี่ยวข้องกับการสลาย
โดยทั่วไป Q มีค่าประมาณ 1 MeV แต่สามารถมีพิสัยจากสองสาม keV ไปจนถึง
สิบ MeVอนุภาคบีตากระตุ้นส่วนใหญ่มีความเร็วสูงมากเป็นซึ่งมีความเร็วใกล้เคียงอัตราเร็วของแสง



การสลายให้อนุภาคแกมมา
เกิดจากการที่นิวเคลียสมีพลังงานสูงและปรับให้กลับสู่สภาวะพลังงานต่ำด้วยการปล่อยโฟตอนออกมา
ซึ่งจำนวนโปรตอนและนิวตอนจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการสลายตัว
การสลายตัวให้รังสีแกมมาอาจเกิดจาก Isomeric Transition (IT) ที่เมื่อนิวเคลียสอยู่ในสภาวะ excited state เป็นเวลาค่อนข้างนาน หรืออยู่ในสภาวะ metastable state จะปรับตัวให้เสถียรโดยให้รังสีแกมมาออกมาหรือ Internal
Conversion electrons ซึ่งตรงข้ามกับการสลายตัวให้รังสีแกมมาที่ปกติจะได้จากสารกัมมันตรังสีที่มีสภาวะ excited
state เป็นเวลาค่อนข้างสั้น
metastable state หรือเขียนด้วยตัว "m" จะเป็นสภาวะที่การสลายตัวให้รังสีแกมมานานกว่า 1 ns เช่น 99mTcดังแสดงในรูป
metastable state หรือเขียนด้วยตัว "m" จะเป็นสภาวะที่การสลายตัวให้รังสีแกมมานานกว่า 1 ns เช่น 99mTcดังแสดงในรูป
ผังการสลายตัวของ99m Tc ให้รังสีแกมมา
4.4 ปฏิกิริยานิวเคลียร์
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ คือ
กระบวนการที่นิวเคลียสเกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบซึ่งเกิดจากการยิงด้วยนิวคลีออน หรือกลุ่มนิวคลีออน หรือรังสีแกมมา
แล้วทำให้มีนิวคลีออนเพิ่มเข้าไปในนิวเคลียสหรือออกไปจากนิวเคลียสหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงจัดตัวใหม่ภายในนิวเคลียส
สามารถเขียนสมการของปฏิกิริยาได้ดังนี้
นิวเคลียร์ฟิชชัน
ปฏิกิริยาฟิชชัน (Nuclear Fission) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เป็นผลจากการแตกตัวของนิวเคลียสของธาตุหนัก โดยกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการยิง นิวตรอนไปยังนิวเคลียสของอะตอมหนัก แล้วทำให้นิวเคลียสแตกออกเป็น 2 ส่วนเกือบเท่ากัน ในปฏิกิริยานี้มวลของนิวเคลียสบางส่วนจะหายไป กลายเป็นพลังงานออกมา และเกิดนิวตรอนใหม่อีก 2 หรือ 3 ตัว ซึ่งวิ่งเร็วมากพอที่จะไปยิงนิวเคลียสของอะตอมอื่นต่อไปทำให้เกิดปฏิริยาต่อเนื่องเรื่อยไป เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction)
ปฏิกิริยาฟิชชัน (Nuclear Fission) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เป็นผลจากการแตกตัวของนิวเคลียสของธาตุหนัก โดยกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการยิง นิวตรอนไปยังนิวเคลียสของอะตอมหนัก แล้วทำให้นิวเคลียสแตกออกเป็น 2 ส่วนเกือบเท่ากัน ในปฏิกิริยานี้มวลของนิวเคลียสบางส่วนจะหายไป กลายเป็นพลังงานออกมา และเกิดนิวตรอนใหม่อีก 2 หรือ 3 ตัว ซึ่งวิ่งเร็วมากพอที่จะไปยิงนิวเคลียสของอะตอมอื่นต่อไปทำให้เกิดปฏิริยาต่อเนื่องเรื่อยไป เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction)
ปฏิกิริยาฟิวชัน
ปฏิกิริยาฟิวชัน
(Nuclear fusion) คือ
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของธาตุเบาหลอมรวมกันเข้าเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า
และมีการปล่อยพลังงานนิวเคลียร์ออกมา (พลังงานเกิดขึ้นจากมวลส่วนหนึ่งหายไป)
พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันมีค่ามากกว่าพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน
เมื่อเปรียบเทียบจากมวลส่วนที่เข้าทำปฏิกิริยา ปฏิกิริยาฟิวชันที่รู้จักกันในนาม
ลูกระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb) เชื่อกันว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันคือ
นิวเคลียสของไฮโดรเจน 4 ตัวหลอมรวมกันได้นิวเคลียสของฮีเลียม
อนุภาคโพสิตรอน มีมวลส่วนหนึ่งหายไป
มวลส่วนที่หายไปเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจำนวนมหาศาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น